พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว


โฮงหลวงแสงแก้ว พิพิธภัณฑ์ของวัด ตั้งอยู่ซีกกำแพงวัดด้านทิศใต้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกแบบโดย นายนภดล อิงควณิช สถาปนิกชาวเชียงรายสร้างบนพื้นที่บริเวณที่เป็นกุฏิสงฆ์และหอฉันในสมัยพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระแก้ว ลักษณะอาคารเป็นทรงล้านนาประยุกต์ ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๓.๒๕ เมตร สูงสองชั้น โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตบแต่งด้วยไม้สักทั้งภายนอกและภายใน โดยมีคุณแม่อมรา มุนิกานนท์(แสงแก้ว) เป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอาคารรวบรวมศิลปวัตถุที่สำคัญของวัดและสิ่งของที่มีผู้นำมาถวายให้อยู่เป็นระบบ เป็นการสงวนรักษาไว้ตลอดไปอีกทั้งจัดแสดงศิลปวัตถุเหล่านี้ให้แก่ผู้เข้าชมทั้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศและเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดป้ายพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว ในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ Hong LuangSaengKaew Museum Built in 1995 in the contemporary northern style. The museum contains numerous interesting objects, especially, of the typical northern culture. The funding for the building was donated by Mrs. Amara Muniganonta (Saengkaew). HRH. Princess Maha Chakri Sirindhorn presided over the opening on February 13, 2007
1. พระพุทธศรีเชียงราย พระประธานโฮงหลวงแสงแก้ว เป็นพุทธรูปปางมารวิชัยวัสดุโลหะปิดทองศิลปะแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ออกแบบโดย รองศาสตราจารย์เสนอ นิลเดช สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ Phra Buddha Sri Chiang Rai In the style of Chiang Saen, this bronze image, covered with gold leaf, is seated in the position of Calling the Earth to Witness. Designed by Associate Professor Saner Nindej. It was commissioned in 2001 as the presiding Buddha image in the Hong LuangSaengKaew, the museum of WatPhraKaew.
2. พระอู่ทอง พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐) เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากทวาราวดี ขอม และสุโขทัย มีลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระนลาฏกว้าง มีไรพระศก ความกว้างของพระนลาฏรับกับแนวพระขนงที่ต่อกันคล้ายปีกกา พระรัศมีรูปคล้ายดอกบัวตูม ทรงครองจีวรเฉียง มีสังฆาฏิใหญ่ปลายตัด ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย
3. ตุง หรือ ธงทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและในการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วหรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนในชาติหน้าด้วยเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์และไปไหว้พระจุฬามณีเจดีย์มีขนาด รูปร่าง และรายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นวัสดุที่ใช้ทำมีหลายชนิด เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น Tung A religious or ceremonial banner. It may be created to make merit for the spirit of the departed or for oneself in the next life. The belief is that when one passes away, one will raise the fringes up to the Chulamaneechedi in the heavens. Their size, shape and style are diverse and vary according to the rituals and ceremonies for which they are created. They may be made of wood, metal, cloth, paper, palm leaf and other materials.